เรื่อง สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า

เรื่อง  สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
สารนิเทศและห้องสมุด
1.ความหมายขอสารนิเทศ
         สารนิเทศ มาจากคำว่า lnformation ซึ่งมีผู้แปลไว้แตกต่างกันหลายคำ เช่น สารสนเทศข้อสนเทศ ข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น โดยสรุป สารนิเทศ คือ ข้อมูลข่าวสารความรู้ ข้อเท็จจริง ที่ได้มีการบันทึกไว้ในสื่อที่สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นทราบได้ด้วยวิธีหนึ่ง เพื่อนำสารนิเทศนั้นไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ
2.ความสำคัญของสารนิเทศ
      ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคข่าวสาร(lnformation age) ถึงกัมีคำเปรียบเทียบว่า สารนิเทศ คือ อำนาจ(lnformation is power) ที่กล่าวเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากเหตุที่แสดงถึงความสำคัญของสารนิเทศดังนี้
2.1 ทำให้ดำรงชีพในสิ่งแวดล้อมได้อย่างปลอดภัย รู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เช่น ใช้สมุนไพรรักษาโรค เป็นต้น
2.2 ทำให้มีความรู้ มีเหตุมีผล เข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาติ ไม่เชื่อถืองมงาย เช่น การเกิดพายุฝนดาวตก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2541 สามารถอธิบายมูลเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวได้
2.3 ทำให้สามารถผชิญปัญหา และหาวิธีแก้ไขได้อย่างดีทีสุดเพราะเป็นผู้รู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น มรความรู้เรื่องตลาดหลักทรัพย์ ก็จะทราบได้ว่าควรเล่นหุ้นหรือไม่ เมื่อไรควรซื้อ ควรขาย เป็นต้น
2.4 ทำให้เป็นผู้ฉลาดรอบรู้ สามารถใช้สารนิเทศ ช่วยสังคมอันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมด้วย
2.5 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิทยาการเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เกิดความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา
2.6 เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงรักษา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
3.ความหมายของห้องสมุด
         ห้องสมุด หมายถึง สถานที่ที่เก็บรวบรวม และให้บริการวัสดุ หรือทรัพยากรสารนิเทศแก้สมาชิก โดยมีบรรณารักษ์หรือนักสารนิเทศเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ตั้งแต่จัดหา จัดเก็บและบริการ ตลอดจนดูแลบำรุงรักษา ทรัพยากรสารนิเทศ
           ปัจจุบันอาจมีคำอื่นที่ใช้ในความหมายใกล้เคียงกับคำว่า ห้องสมุด เช่น ใช้คำว่า ศูนย์ สารนิเทศ สำนักหอสมุด สำนักบรรณสารการพัฒนา เป็น
            ตัวอย่าง  สถาบันที่เรียกชื่อหน่วยงานลักษณะห้องสมุดเป็นอย่างอื่น เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ สถาบันวิทยบริการ  สถาบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ใช้ สำนักบรรณสารการพัฒนา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ใช้ สำนักหอสมุดกลาง
4.ความสำคัญของห้องสมุด
             ดังได้กล่าวถึงความสำคัญของสารนิเทศไว้ในหัวข้อที่ 2 แล้ว จึงพอสรุปความสำคัญของแหล่ง หรือคลังเก็บสารนิเทศที่อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น  นอกจากคำว่า  ห้องสมุด ได้ดังนี้
4.1.ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมทั้งความรู้ความบันเทิง ที่ผู้ใช้สามารถเอกสรรได้อย่างเสรีตามความต้องการ ทำให้เป็นคนฉลาดทันเหตุการณ์
4.2.ห้องสมุดช่วยส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งนี้เพราะปัจจุบันห้องสมุดมรบริการสื่อโสตทัศน์ เช่น วิดีทัศน์ บริการ วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ บริการ online ฯลฯ ผู้ใช้จะได้รับทั้งความบันเทิงและความรู้ในขณะเดียวกัน สามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนทุกมุมโลก
4.3.ห้องสมุดช่วยปลุกฝังนิสัยรักการอ่าน ผู้ใช้ห้องสมุดที่ได้รับความบันเทิงมักจะติดใจกลับมาอ่านเรื่องอื่นๆทำให้เป็นนิสัยเกิดความต้องการหนังสือเป็นอาหารสมองอีกอย่างหนึ่ง
4.4.ห้องสมุดเป็นแหล่งสารนิเทศที่กว้างไกลรับใช้สังคม ที่เรียกว่า เอเวอร์ ออนเวอร์ด(Ever Onwrd) หมายถึง ผู้ใช้บริการสามารถท่องเที่ยวไปได้ไกลอย่างไม่มีขอบเขต เช่น บริการอินเตอร์เน็ต ซื่อผู้ใช้สามารถส่งจดหมายหรือรับข่าวสารจากผู้ที่อยู้ห่างไกลได้อย่างฉับไวจาก บริการ E-mail หรือสามารถสืบค้นสารนิเทศทั่วโลกโดยใช้บริการ World Wide Web เป็นต้น
4.5.ห้องสมุดเป็นสถานที่ไร้พรมแดน ผู้ให้บริการเต็มใจบริการโดยไม่เลือกปฏิบัติ เป็นมิตรภาพไร้พรมแดน (Friendship Beyond Frontiers) หมายถึงทุกคนสามารถรับบริการได้อย่างเสมอภาค เป็นห้องสมุดปราศจากกำแพง (Library without wall)
              สรุปความสำคัญของห้องสมุด จากร้อยกรองคำประพันธ์ของอาจารย์ฐะปะนีย์ นาครทรรพซึ่งเขียนเป็นคำขวัญแสดงให้เห็นความสำคัญของห้องสมุดดังนี้
              ห้องเอ๋ย ห้องสมุด                               นำมนุษย์โบนบินถิ่นไพศาล
มีหนังสือเป็นมิตรจิตเบิกบาน                           เป็นสะพานความรู้นำสู้ตน
ได้ท่องเที่ยวถิ่นไกลในพิภพ                             ได้ประสบบุคคลพ้นสมัย
ได้รับทราบเหตุการณ์ที่ผ่านไป                         เพียงนั่งในห้องสมุดสุดเพลินเอย
5.วัตถุประสงค์ทั่วไปของห้องสมุด
             หน่วยงานทุกหน่วย เมื่อจัดตั้งขึ้น ย่อมต้องมีความมุ่งหมายว่าจะจัดตั้งเพื่ออะไร ห้องสมุดก็เช่นเดียวกัน โดยทั่วไป ห้องสมุดทุกประเภทจะมีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน 5 ประการดังนี้
5.1.เพื่อการศึกษา (Education) ห้องสมุดทุกแห่งจะรวบรวมวัสดุสารนิเทศที่ให้ความร้เพื่อบริการแก่ผู้ต้องการแสวงหาค้นคว้าด้วยตนเองได้ตามต้องการ
5.2.เพื่อรวบรวม้อมูลข่าวสาร (lnformaton) หรือทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใฝ่รู้
5.3.เพื่อการค้นคว้าและวิจัย (Reseach)  ห้องสมุดเป็นคลังข้อมูลที่ผู้ทำวิจัย หรือ ต้องการค้นคว้าเรื่องต่างๆสามารถสืบค้นได้ด้วยตนเอง
5.4.เพื่อความจรรโลงใจ (lnspiration) สารนิเทศบางประเภทำให้ผู้ใช้มีความซาบซึ้งประทับใจ เกิดแรงบันดาลใจให้อยากทำในสิ่งที่ดีงาม เป็นคุณทั้งแก่ตนเองและชาติบ้านเมือง เช่น พระราชนิพนธ์ปลุกใจเสือป่า ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น
5.5.เพื่อความบันเทิงสารคดีคลายเครียด เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) ห้องสมุดทุกแห่งจะมีวัสดุสารนิเทศที่ให้ความสนุกบันเทิงใจ เช่น นิตยสาร นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯไว้บริการ ซึ่งทรัพยากรสารนิเทศดังกล่าวจะทำให้ผู้อ่านได้รับรสชาติที่ถูกใจ ทำให้ติดที่จะต่อไป อันมีผลต่อการสร้างนิสัยรักการอ่าน การแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต
6.ประเภทของห้องสมุด
              การแบ่งประเภทห้องสมุด ตามลักษณะและวัตถุประสงค์ที่ให้บริการ  อาจจำแนกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
6.1.ห้องสมุดโรงเรียน (School  Library) มีวัตถุประสงค์ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในโรงเรียนใช้ ได้แก่ นักเรียน ครู อาจารย์ เป็นต้น หนังสือส่วนใหญ่จึงเน้นด้านวิชาการตามหลักสูตร เช่น แบบนเรียน คู่มือ  โครงการสอน เป็น
6.2.ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library) มีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ ห้องสมุดจึงรวบรวมวัสดุสารนิเทศให้ตรงตามหลักสูตรของสถาบัน  ไว้บริการมากกว่าด้านบันเทิง
6.3.ห้องสมุดประชาชน (Public Library) เป็นหน่วยงานที่ขึ้นกับกรมการศึกษานอกโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่บุคคล ทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่จะมีหนังสือ และนิตยสารที่ให้ความบันเทิง และจะมีมุมหนังสือของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นหนังสือวิชาการระดับอุดมศึกษาอยู่ด้วย
6.4.หอสมุดแห่งชาติ (National Library) มีฐานะเป็นกอง สังกัดกรมศิลปากร ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติตั้งอยู่ที่บริเวณท่าวาสกรี ถนนสามเสน และมีสาขาตามต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา ลาดกระบัง  เป็นต้น หอสมุดแห่งชาติให้บริการศึกษาค้นคว้าภายใน ไม่อนุญาตให้ยืมวัสดุออกนอกหอสมุด มีบริการที่น่าสนใจ เช่น ห้องสมุดดนตรี ห้องหนังสือสำหรับเด็กห้องไมโครฟิล์ม เป็นต้น
6.5.ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งโดยหน่วยงาน ที่ต้องการรวบรวมสารนิเทศเฉพาะสาขา สำหรับให้บริการแก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม เช่น ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย ห้องสมุดรัฐสภา ห้องสมุด ศิริราช (มหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นต้น
7.ทรัพยากรสารนิเทศ
               ทรัพยากรสารนนิเทศ (lnformation Resources) หมายถึง สารนิเทศที่มีคุณค่า ซึ่งเป็นการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราว และความรู้โดยใช้อักษร ภาพ สัญลักษณ์ รหัส หรือเสียงซึ่งสามารถปรากฏให้เห็น หรือได้ยิน หรือสัมผัสได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง วัสดุส่วนใหญ่ของห้องสมุด มักจะเห็นรูปเล่มของหนังสือ นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ วัสดุสารนิเทศจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ วัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ ซึ่งแต่ละประเภทยังแบ่งย่อยได้อีกดังนี้
7.1.วัสดุตีพิมพ์ (Printed Materials) หมายถึง สารนิเทศชนิดที่ตีพิมพ์ลงกระดาษห้องสมุดจัดจำแนกวัสดุตีพิมพ์ดังนี้
7.1.1.หนังสือทั่วไป (Books) พิจารณาตามลักษณะให้บริการเป็น 3 ประเภท คือ
7.1.1.1.หนังสือทั่วไป (General Books) หมายถึง หนังสือทุกชนิดที่ให้บริการยืมได้ระยะยาวกว่าหนังสือสงวน และให้ยืมได้มากเล่นกว่า ผู้ใช้บริการสามารถเลือกหยิบหนังสือได้จากชั้นแล้วนำไปยืมที่เคาน์เตอร์บริการ
7.1.1.2.หนังสือสงวน (Reserved Books) ห้องสมุดบางแห่งเรียกหนังสือจอง หรือหนังสือสำรอง เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีน้อยไม่เพียงพอถ้าจะบริการอย่างหนังสือทั่วไปจึงกำหนดให้ยืมในระยะสั้นและยืมได้น้อยเล่ม การยืมต้องบอกชื่อหนังสือที่ต้องการกับเจ้าหน้าที่บริการให้หยิบจากชั้นปิด ซึ่งมักอยู่บริเวณเคาน์เตอร์
7.1.1.3.หนังสืออ้างอิง (Reference Books) เป็นหนังสือพิเศษที่มีลักษณะไม่สะดวกที่จะนำออกจากห้องสมุด เช่น ขนาดใหญ่ หรือมีเหตุผลอื่น อาจเป็นหนังสือหายาก ราคาสูงจึงจัดแยกออกจากหนังสือประเภทอื่น และให้บริการค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น
7.1.2.วารสารและนิตยสาร (Journals and Magazines) เป็นวัสดุตีพิมพ์ที่มีกำหนดออกแน่นอนและต่อเนื่อง แตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการจัดทำ คือ วารสารมุ่งเสนอความรู้ ส่วนนิตยสารมุ่งให้ความบันเทิง
7.1.3.หนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกตามกำหนดติดต่อกัน อาจออกรายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือนก็ได้ มีรูปเล่มขนาดใหญ่เป็นแผ่นพับไม่เย็บเล่มและมุ่งเสนอข่าว หรือข้อมูลที่ต้องการความรวดเร็ว เช่น เสนอผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น ห้องสมุดจะจัดหนังสือพิมพ์แยกบริการจากวัสดุอื่น เนื่องจากขนาดและการจัดวางที่แตกต่างกัน
7.1.4.   จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กความหนาโดยประมาณ 60 หน้ามุ่งเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะส่วนจะใหญ่พิมพ์เผยแพร่ให้เปล่า เพื่อต้องการให้ทราบทั่วกัน เช่น จุลสารเรื่องโรคเอดส์ จุลสารเรื่องเอเชี่ยนเกมส์ เป็นต้น เนื่องจากจุลสารมีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงแยกเก็บไว้ในกล่อง หรือใส่แฟ้มไว้ในลิ้นชักเหล็กตามลำดับหัวเรื่อง
7.1.5.กฤตภาค (Clippings) เป็นวัสดุตีพิมพ์ที่เกิดจากการคัดเลือกสิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องการเก็บทั้งเล่ม เช่น จากวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ ปกติจะตัดออกมาจากกระดาษ กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 13.5 นิ้ว แล้วใส่แฟ้มตามลำดับหัวเรื่องเก็บไว้ในลิ้นชักเช่นเดียวกับจุลสาร
7.2.วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Nonprinted Materials) หมายถึง สารนิเทศที่บันทึกลงในวัสดุอื่นใดนอกเหนือจากกระดาษ (เช่น บันทึกในฟิล์ม พลาสติก แผ่นโลหะ) ซึ่งอาจจำแนกวัสดุไม่ตีพิมพ์ได้ดังนี้
7.2.1.โสตวัสดุ คือ วัสดุสารนิเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดข้อมูล เช่น แผ่นเสียง (phonodisc) แถบบันทึกเสียง (phototape) แผ่นดิสก์ (disc) เป็นต้น
7.2.2.ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่ผู้รับสารนิเทศต้องใช้ตารับรู้ อาจเห็นด้วยเปล่า เช่น รูปภาพ แผนผัง แผนภูมิ หรือต้องรับข้อมูลโดยใช้เครื่องฉาย เช่น ภาพนิ่ง (slides) ภาพเลื่อน (filmstrips) แผ่นใส (transparency)
7.2.3.โสตทัศนวัสดุ (Audio-Visual Materials) เป็นวัสดุสารนิเทศที่มีทั้งภาพเสียง เช่น ภาพยนตร์ (motion pictures) สไลด์ประกอบเสียง (slide multivisions) เป็นต้น
7.2.4.วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นทรัพยากรสารนิเทศที่มีการแปลงสารนิเทศเป็นสัญญาอิเล็กทรอนิกส์เวลาใช้ต้องมีเครื่องมือที่จะแปลงสัญญาณกลับคือเป็นภาพหรือเสียง เช่น วิดีทัศน์(videotape) ซีดี-รอม (CD-ROM) จานวิดีทัศน์ (videodisc) เป็นต้น
ซีดี-รอม (CD-ROM มาจาก Compact Disc Read Only Memoroy) เป็นแผ่นโลหะผสมพิเศษ มีความแข็งแรงและเบา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว ลักษณะคล้ายแผ่นเสียง บันทึกข้อมูลได้มากหนึ่งแผ่นสามารถจุข้อความได้เทียบเท่าความหนาของหนังสือประมาณ 250,000 หน้า
จานบันทึกทั้งภาพและเสียงแสดงผลบนจอภาพของเครื่องรับโทรทัศน์คล้ายดูวีดิทัศน์ แต่ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกหรือลบข้อมูลในจานบบันทึกได้
7.2.5.วัสดุย่อส่วน (Microforms) เป็นคำรวม หมายถึง รูปแบบของสารนิเทศใดๆซึ่งบรรจุภาพถ่ายของวัสดุตีพิมพ์หรือภาพถ่ายต่างๆในขนาดที่เล็กมากสามารถอ่านด้วยตาเปล่าได้ เมื่อต้องการข้อมูลต้องใช้เครื่องอ่าน เช่น ไมโครฟิล์ม (microfilm) ไมโครคาร์ด (microcard) ไมโครฟิช (microfiche) วัสดุประเภทนี้บางตำราใช้คำว่า จุลรูป หรือ ไมโครเร็กคอร์ด (microrecord)
            นอกจากวัสดุตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ดังกล่าวแล้ว ห้องสมุดบางแห่งมีวัสดุอื่นแสดงเป็นตัวอย่างหรือจำลองของจริง เช่น ตัวอย่าง แร่ธาตุ หุ่นจำลอง ปราสาทหิน พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น และปัจจุบันมีคำที่ใช้เรียกวัสดุห้องสมุดทุกชนิดว่า วัสดุสารนิเทศ หรือ ทรัพยากรสารนิเทศ
8.บริการของห้องสมุด       
                งานบริการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้มากที่สุด ถ้าผู้ใช้บริการขาดความรู้และไม่มีหัวใจบริการแล้ว ก็ไม่เพียงแต่จะทำให้การลงทุนที่เป็นค่าอาคาร วัสดุ ครุภัณฑ์ จะสูญเปล่าเท่านั้นแต่อาจทำให้บั่นทอนผู้ใช้บริการไปด้วย
                 ห้องสมุดส่วนใหญ่จะมีบริการพื้นฐานเหมือนกัน ส่วนบริการิเศษขึ้นอยู่ความต้องการของผู้ใช้ และความพร้อมของห้องสมุดนั้นๆ
8.1.บริการพื้นฐาน ได้แก่
8.1.1.บริการจ่าย-รับ (Circulation Service) ทรัพยากรสารนิเทศ รวมทั้งการติดต่อทวงถาม เมื่อผู้ใช้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
8.1.2.บริการหนังสือสงวน (Reserved Book Service) งานส่วนนี้ปกติจะให้บริการแก่ผู้สอน จัดหาหนังสือจากชั้นเปิดมาเก็บในเคาน์เตอร์ ตามรายชื่อที่ผู้สอนกำหนด เพื่อนำมาให้บริการแก่ผู้เรียนหมุนเวียนกันอย่างทั่วถึงเนื่องจากหนังสือมีไม่เพียงพอ จึงกำหนดให้ยืมจำกัดทั้งจำนวนเล่มและจำนวนวัน เช่น ได้ครั้งละ 2 ชื่อเรื่อง เวลา 1 วัน
8.1.3.บริการสอนหรือแนะนำการใช้ห้องสมุด งานส่วนนี้อาจทำเป็นประจำเมื่อมีการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หรือมีผู้เข้าใช้ห้องสมุดเป็นกลุ่มๆหรือจัดนิทรรศการ หรือจัดทำจุลสารแนะนนำการใช้ห้องสมุด
8.2.บริการพิเศษ มีงานหลายชนิดนอกเหนือจากบริการพื้นฐาน ที่ห้องสมุดใหญ่ๆโดยเฉพาะห้องสมุดระดับอุดมศึกษา หรือหน่วยงานระดับสูงจัดบริการ ได้แก่
8.2.1.บริการยืมระหว่างห้องสมุด (lnter Library Loan) เป็นความร่วมมือของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ที่ตกลงกันจะให้บุคลากรของและสถาบัน ใช้วัสดุสารนิเทศข้ามสถาบันได้ โดยยืมผ่านห้องสมุดสาบันที่ตนสังกัด
8.2.2.บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า (Rrference Sevice) บริการนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในสื่อทุกชนิดของห้องสมุดได้รวดเร็ว ผู้ใช้สามารถไปถามได้ที่โต๊ะให้บริการ
8.2.3.บริการข่าวสารทันสมัย (Current  Awareness Service) เป็นบริการที่ช่วยแนะนำข่าวสารข้อมูล วิทยาการใหม่ๆอาจถ่ายสำเนาสารบาญวารสารหรือแจ้งรายชื่อสารนิเทศให้ผู้เข้าใช้เข้าใช้ทราบโดยเร็ว
8.2.4.บริการสืบค้นสารนิเทศทางไกล (lnternet) ปัจจุบันที่ห้องสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมีบริการนี้ เช่น สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เป็นต้น ผู้ใช้บริการสามารถจะสืบค้นสารนิเทศจากต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยผ่านบริการของห้องสมุดที่ตนศึกษาอยู่
           นอกจากบริการพิเศษทั้ง 4 ประเภท ดังกล่าว ห้องสมุดบางแห่งอาจมีบริการอีก เช่น บริการถ่ายเอกสาร บริการรวบรวมบรรณานุกรมและทำสาระสังเขป เป็นต้น
9.ระเบียบและมรรยาทในการใช้ห้องสมุด
             ห้องสมุดเป็นหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้จำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้รับบริการ ห้องสมุดจึงต้องมีระเบียบ เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติอันจะทำให้เกิดความเสมอภาคในขณะเดียวกันผู้รับบริการก็จะต้องมีมรรยาทให้เกียรติแก่สถานที่ด้วย วามหมายของระเบียบและมรรยาท พอสรุปได้ดังนี้
             ระเบียบ หมายถึง ข้อบังคับที่จะให้ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติ อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อสังคมอยู่อย่างสงบสุขและเป็นธรรม ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษ เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในห้องสมุด
              มรรยาท เป็นข้อพึงปฏิบัติ โดยเกิดจากสำนึกรู้จักการควรไม่ควรของของผู้นั้นเอง เช่น ไม่ควรส่งเสียงดังเกินสมควรในห้องสมุด ผู้ที่ไม่มีมรรยาทมักไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น อาจพูดด้วยเสียงปกติแต่ค่อนข้างดัง แม้ไม่ผิดระเบียบ ไม่ได้รับโทษโดยระเบียบ แต่สังคมก็ไม่ยอมรับเท่ากับถูกลงโทษเช่นกัน
9.1.ระเบียบของห้องสมุด แต่ละแห่งอาจมีข้อปฏิบัติแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพห้องสมุดและวัตถุประสงค์ของห้องสมุดนั้นๆอย่างไรก็ตาม ระเบียบของห้องสมุดที่เป็นสาระสำคัญก็ยังคงคล้ายคลึงกัน ซึ่งจะมีข้อกำหนดหลักๆดังนี้
9.1.1.เวลาทำการ
9.1.2.ผู้ใช้บริการและสิทธิหน้าที่
9.1.3.ระเบียบการยืม เช่น ผู้ยืมวัสดุต้องใช้บัตรห้องสมุดของตนเอง ยืมวัสดุได้ตามจำนวนที่ห้องสมุดกำหนด เป็นต้น
9.1.4.บทลงโทษ กรณีที่มีการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบการใช้ห้องสมุด เช่น การนำหนังสือออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้รับอนุญาต การตัดฉีกภาพ หรือข้อความวารสาร เป็นต้น
9.2.มรรยาทในการใช้ห้องสมุด การใช้สาธารณสมบัติร่วมกันในห้องสมุด ผู้ใช้ควรมีสำนึกที่จะช่วยกันรักษาทั้งทรัพย์สินและสร้างบรรยากาศที่ดี ให้เกียรติซึ่งกันและกัน  และให้เกียรติสถานที่ด้วย ผู้มีมรรยาทและคุณธรรมปฏิบัติตนดังนี้
9.2.1แต่งกายสุภาพ เหมาะกับกาลเทศะ
9.2.2.วาจาสุภาพ ใช้เสียงเท่าที่จำเป็น
9.2.3.งดนำอาหาร เครื่องดื่ม หรือของขบเคี้ยวมารับประทาน
9.2.4.รักษาสาธารณสมบัติ ใช้อย่างคุ้มค่า และประหยัด เช่น ช่วยปิดไฟ ปิดพัดลม เมื่อไม่ใช้ ช่วยเก็บเก้าอี้ เก็บหนังสือ เข้าที่อย่างเรียบร้อย ถูกต้อง เป็นต้น
9.2.4.ดูแลทรัพย์สินของห้องสมุดดุจของตน ป้อนกัน ขัดขวางผู้ทำลาย เช่น ผู้ที่แอบตัดฉีกหนังสือ เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น